Service Profile

 

สรุปข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน Service Profile

 1. หน้าที่ เป้าหมาย วัตถุประสงค์

ชื่อหน่วยงาน งานคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)

1. บริบท

    ก. หน้าที่

          วางแผนและออกแบบระบบสารสนเทศที่เหมาะสมและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้  โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสารสนเทศวางแผนพัฒนาการเชื่อมโยงสารสนเทศในโรงพยาบาลให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนการทำงานในส่วนต่างๆ ของโรงพยาบาล ให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้

          1. สำรวจความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับในโรงพยาบาล

          2. วางแผนการตอบสนองความต้องการข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานในโรงพยาบาล ทุกหน่วยงานมีระบบสารสนเทศของตนเอง ทั้งในรูปแบบแฟ้มเอกสาร และฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ เพื่อการบริหารที่มีมาตรฐาน ถูกต้อง ทันเวลาเข้าถึงได้ง่าย และเชื่อมโยงกันได้ทุกหน่วยงาน
          3. สนับสนุนระบบสารสนเทศเพื่อให้ผู้รับบริการ โดยนำคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายมาใช้ในการบริการตรวจ รักษา และบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ เพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษ และความสะดวก รวดเร็วในการเรียกใช้และประมวลผลข้อมูล
          4. จัดทำระบบฐานข้อมูลผู้รับบริการทั้งหมด เชื่อมโยงไปทุกหน่วยงานในโรงพยาบาลมีโปรแกรมประมวลผลรายงานเพื่อส่งหน่วยงานต้นสังกัดและการประมวลผลข้อมูลเชิงคุณภาพกระจายทุกฝ่าย/งานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย เพื่อสะดวกในการเรียกใช้ข้อมูล
          5. สนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ทั้งด้าน ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) และด้านเครือข่าย (Network) และ โปรแกรม (Software)

 

เป้าหมาย

                1. ด้านสนับสนุนการดูแลผู้รับบริการของโรงพยาบาล ให้มีการจัดเก็บข้อมูลการรักษาอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายและอินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึง
                2. ด้านพัฒนาคุณภาพ จัดเก็บข้อมูลบุคลากร , ตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น สถิติโรค /สัดส่วนของบุคลากร /
งาน ฯลฯ 
                3. ด้านบริหาร มีข้อมูลครบถ้วนในการวิเคราะห์สถานการณ์ของโรงพยาบาลทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคล, การเงินและบัญชี , พัสดุ , คลังยา ฯลฯ
                4. ด้านการศึกษาวิจัย โดยการสนับสนุนข้อมูลสารสนเทศทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร

  ข.ขอบเขตบริการ (Scope)

          1. การบริหารจัดการระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงสารสนเทศ
          2. ดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายให้พร้อมใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
          3. การพัฒนาระบบสารสนเทศและการจัดหาระบบสารสนเทศ ให้ครอบคลุมความต้องการของหน่วยงาน
          4. พัฒนาระบบให้ทันสมัย และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
          5. ให้บริการทางวิชาการในรูปแบบให้คำปรึกษาแนะนำด้านการใช้งาน
        6. ตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยง ค้นหาความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง และป้องกันความเสี่ยงด้านสารสนเทศขององค์กร
          7. ให้การฝึกอบรมการใช้โปรแกรมระบบงานกับทุกหน่วยงาน
          8. ให้บริการสารสนเทศ รายงานต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ

 ค. ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ(จำแนกตามกลุ่มผู้รับผลงาน)

ผู้รับผลงาน

ความต้องการที่สำคัญ

1. ผู้ป่วย

1. ต้องการบริการที่สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน ลดระยะเวลาการรอรับบริการ

2. ระบบความปลอดภัยของข้อมูล และความลับของผู้ป่วยจะต้องไม่ถูกเปิดเผย

2. ญาติผู้ป่วย

1. สามารถให้บริการสารเทศแก่ญาติผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ลูกค้าภายนอกโรงพยาบาล

1. มีระบบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นปัจจุบัน
2. ระบบข้อมูลมีคุณภาพ สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้

4. ผู้ร่วมงานในโรงพยาบาล

1. มีระบบคอมพิวเตอร์ที่เอื้อต่อการให้บริการ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
2. มีระบบสารสนเทศใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สนับสนุนตัวชี้วัดของระบบงานของหน่วยงานย่อย และองค์กร
3. มีการนาระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการนัดหมาย ติดตามประวัติการรักษาและการให้บริการ รวมถึง Back Office (ระบบลูกหนี้ เจ้าหนี้ และการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบบัญชี ระบบงานพัสดุ)
4. ข้อมูลสารสนเทศมีการเชื่อมโยง เชื่อถือได้ รวดเร็ว

5. ผู้บริหาร

1. ได้รับข้อมูลสารสนเทศ ที่ถูกต้อง รวดเร็วเป็นปัจจุบันเพียงพอในการตัดสินใจ

 

ง. ประเด็นสำคัญ

          1. จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ให้มีการเชื่อมโยงกันและเป็นปัจจุบันแบบ Real time ให้มีความรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัย ครอบคลุมทุกหน่วยงาน
          2. ผู้รับบริการได้รับการพิทักษ์สิทธิ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
          3. มีข้อมูลที่จำเป็นและถูกนำไปใช้ในการพัฒนาองค์กรทั้งด้านบริหารงานภายในองค์กรและบริการภายนอกองค์กร
         4. สนับสนุนการทำงานของบุคลากรด้านการบันทึกและจัดเก็บข้อมูล เพื่อสร้างสารสนเทศขององค์กร

 

จ. ความท้าทาย และความเสี่ยงที่สำคัญ (จุดเน้นในการพัฒนา)

1. ความท้าทาย

          1. พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน ปลอดภัย ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยมีความสมบูรณ์ และลดการใช้กระดาษ มุ่งสู่  Electronic Medical Record
            2. นำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาองค์กร
            3. พัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นสื่อสารสนเทศที่ทันสมัย
        4. เชื่อมโยงข้อมูลบริการสู่หน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล เช่น ศูนย์โรคตา สาขาสุขุมวิท และ ศูนย์นวัตกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ  กรมการแพทย์ DMS6

 

2. ความเสี่ยงที่สำคัญ

ความเสี่ยงที่สำคัญ

แนวทางป้องกันและแก้ไข

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1. ระบบล่ม ข้อมูลสูญหาย ถูกทำลาย จากภัยธรรมชาติ อุปกรณ์Hardware ชำรุดเสียหายจากไวรัส ผู้บุกรุกลบข้อมูลที่สำคัญ

ดำเนินการสำรองข้อมูล (Back Up) เพื่อลดความเสี่ยงดังนี้
1. ระดับที่ 1 เครื่องแม่ข่าย (Database Server) รองรับระบบ Raid จัดทำระบบ Raid 5
2. ระดับที่ 2 มีเครื่องแม่ข่ายสำรอง( Database Server ตัวที่ 2) (Back Up) ข้อมูลแบบ Real time หากเครื่องหลักเสีย สามารถนำเครื่องสำรองใช้เป็นเครื่องหลักทดแทนได้ทันที
3. ระดับที่ 3 มีเครื่องแม่ข่ายสำรอง( Database Server ตัวที่ 3) (Back Up) สำรองข้อมูล เวลา 00.05 น. ของทุกวัน ตั้งเวลาสำรองข้อมูลอัตโนมัติ

 

- ยังไม่พบการสูญหายข้อมูล

  

ความเสี่ยงที่สำคัญ

แนวทางป้องกันและแก้ไข

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

2. ปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง

เพื่อป้องกันและแก้ไข้ปัญหาจากระบบกระแสไฟฟ้าดับหรือผิดปกติ กระแสไฟฟ้า ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ แนวทางป้องกันมีดังนี้

1. การติดตั้งเครื่องสำรองไฟฟ้าและปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (UPS) เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

2. ระบบไฟฟ้าสำรอง เครื่องปั่นไฟฟ้าของโรงพยาบาล เมื่อไฟฟ้าดับ เครื่องปั่นจะทำงานอัตโนมัติภายใน 5 วินาที

3. ตู้ Switch Hub ทุกตู้ มีเครื่องสำรองไฟ และพ่วงต่อกับระบบไฟฟ้าสำรอง 

 

เครื่องสำรองไฟฟ้าที่สำรองเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) สำรองไฟฟ้าได้ประมาณ30 นาที

- เครื่องสำรองไฟฟ้าที่สำรองเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) สำรองไฟฟ้าได้ประมาณ 5-10 นาที

- ภายใน 5 วินาที เครื่องปั่นไฟฟ้า รพ. เริ่มทำงาน ระบบไม่มีปัญหาเรื่องกระแสไฟ เป็นสาเหตุทำให้ระบบล่ม

3. การเปิดเผยข้อมูลของ
ผู้ป่วย

1. กำหนดสิทธิ / รหัสผ่านของบุคลากรเพื่อเข้าสู่
โปรแกรมการปฏิบัติงานและการเข้าถึงฐานข้อมูล
เวชระเบียน
2. กำหนดแนวทางปฏิบัติการขอใช้ / ขอถ่ายสำเนาเวชระเบียน
3. มีแนวทางปฏิบัติการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เมื่อเปิดเผยแล้วเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย
4. มีเครื่องทำลายเอกสารข้อมูลผู้ป่วยที่ไม่ต้องการ 

- ยังไม่พบการร้องเรียน
เรื่องการเปิดเผยข้อมูล
ผู้ป่วย

4. ความถูกต้อง ทันเวลาของข้อมูลสารสนเทศ

- กำหนดแนวทางปฏิบัติในการรายงาน การบันทึก การวิเคราะห์และการกระจายข้อมูล
- ระบบการตรวจสอบข้อมูลเพื่อการส่งออกตามมาตรฐานแฟ้ม 43 แฟ้ม

 

การส่งข้อมูลไปยัง  Data Center, กรมการแพทย์
ทันตามกำหนด

  

ความเสี่ยงที่สำคัญ

แนวทางป้องกันและแก้ไข

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

5. ข้อมูลผิดพลาด การให้ รหัสโรค

 

1. ให้คู่มือการให้รหัสโรค หัตถการ จัดทำคู่มือการลงข้อมูล

2. มีการประชุมตัวแทนจุดให้บริการเพื่อทำความเข้าใจ และให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบันทึกข้อมูล

 

- ผลคะแนน Auditor เพิ่มขึ้น

 

3. จุดเน้นในการพัฒนา(ระบบบริการและบริการส่งเสริมสุขภาพ)

จุดเน้นโรงพยาบาล

จุดเน้นหน่วยงาน

จุดเน้นที่ 1 ด้านวางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศในด้านการพัฒนาโปรแกรมข้อมูลและการบันทึกข้อมูลให้สามารถใช้งานได้ ครอบคลุมทุกหน่วยงาน

จุดเน้นที่ 2 ด้านวางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศในด้านการพัฒนาโปรแกรมข้อมูลและการบันทึกข้อมูลให้สามารถการเบิกจ่ายงบประมาณ ทุกสิทธิรักษา

จุดเน้นที่ 3 ด้านการดูแลและสร้างการเรียนรู้การ

บำรุงรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง

1. มุ่งให้มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาองค์กรทั้งระบบ(Front Office และ Back Office )

2. มุ่งให้มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาองค์กรทั้งด้านบริหารงานภายในองค์กรและบริการภายนอกองค์กร(ผู้มารับบริการ)

3. มุ่งให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร

4. มุ่งให้มีข้อมูลมีความรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยอยู่เสมอครอบคลุมทุกหน่วยงาน และมีการเชื่อมโยงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ฉ. ปริมาณงานและทรัพยากร (คน เทคโนโลยี เครื่องมือ)

1. ปริมาณงาน

          1. ดูแลบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย จำนวน 5 เครื่องให้สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
          2. ดูแลบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย จำนวน 415 เครื่อง ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

          3. ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานด้านเทคโนโลยีกับหน่วยบริการ ทั้งโรงพยาบาล
          4. จัดทำรายงานให้กับหน่วยบริการภายในโรงพยาบาลตามที่ร้องขอ

2. อัตรากำลัง

          ดำเนินงานโดยคณะกรรมการสารสนเทศโรงพยาบาลฯ
          ข้าราชการ 2 คน พนักงานกระทรวงสาธารณสุข 2 คน


ประเภทเจ้าหน้าที่

อัตรา

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ

2

เจ้าพนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์

1

นักเทคโนโลยีสารสนเทศ

1

 

3. เครื่องมือ

รายการเครื่องมือที่สำคัญ

จำนวน

ระบบการดูแลรักษาเครื่องมือ

1. เครื่องแม่ข่ายหลัก (Master) สำหรับโปรแกรมระบบงานบริหารโรงพยาบาล (HIS)

2

1. ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่อง ในห้องแม่ข่าย Server ตลอด 24 ชม. และสลับการทำงาน

2. ติดเครื่องสำรองไฟฟ้าให้กับห้อง
แม่ข่าย   

3. ห้องแม่ข่าย มีกล้องวงจรปิด และมีอุปกรณ์ควบคุมประตู Access Control

 

2.เครื่องแม่ข่ายรอง (Slave) เพื่อสำรองข้อมูลตลอดเวลาจากเครื่อง แม่ข่ายหลัก

1

1. เครื่องแม่ข่ายหลักกับเครื่องแม่ข่ายสำรอง เก็บไว้คนละตึก

2. ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่อง ในห้องแม่ข่าย Server ตลอด 24 ชม. และสลับการทำงาน

3. ติดเครื่องสำรองไฟฟ้าให้กับห้องแม่ข่าย   

4. ห้องแม่ข่าย มีกล้องวงจรปิด และมีอุปกรณ์ควบคุมประตู Access Control

 

  

รายการเครื่องมือที่สำคัญ

จำนวน

ระบบการดูแลรักษาเครื่องมือ

3. อุปกรณ์ป้องกันเครือข่าย (Firewall) และ อุปกรณ์จัดเก็บ Log File

2

1. ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่อง ในห้องแม่ข่าย Server ตลอด 24 ชม. และสลับการทำงาน

2. ติดเครื่องสำรองไฟฟ้าให้กับห้อง
แม่ข่าย   

3. ห้องแม่ข่าย มีกล้องวงจรปิด และมีอุปกรณ์ควบคุมประตู Access Control

 

4. อุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Switch Hub)
และ Wireless Access Point

52

3. ตู้ Switch Hub ทุกตู้ มีเครื่องสำรองไฟ และพ่วงต่อกับระบบไฟฟ้าสำรอง 

5. เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย

415

1. ติดตั้งโปรแกรม Anti virus ทุกเครื่อง
2. ทำการเป่าฝุ่นเครื่องคอมพิวเตอร์
3. ติดเครื่องสำรองไฟฟ้าทุกเครื่อง
สำหรับเครื่องที่จัดซื้อตั้งแต่ปี 2561

6. เครื่องพิมพ์

420

1. ทำการเป่าฝุ่น 4 เดือนครั้ง  

7. เครื่องสำรองไฟฟ้า(UPS) เครื่องแม่ข่าย
และเครื่องลูกข่าย

160

1. ตรวจสอบความพร้อมการใช้งาน
2. เปลี่ยนแบตเตอร์รี่ตามระยะเวลา

 

 

 2. กระบวนการสำคัญ(Key Process)

กระบวนงานที่สำคัญ

(Key Process)

สิ่งที่คาดหวัง

(Process Requirement)

ความเสี่ยงสำคัญ

(Key Risk)

ตัวชี้วัดสำคัญ

(Performance Indicator)

1. งานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

- สนับสนุนโปรแกรมการใช้

งานเพื่อจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

- เพื่อให้ผู้รับบริการได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์

 

1. โปรแกรมมี Bug,Error เก็บข้อมูลไม่ถูกต้อง มีความผิดพลาด

2. การรายงานข้อมูลคลาดเคลื่อน

 

1. ลดจานวนแฟ้มข้อมูลที่ERROR การส่งออก
43 แฟ้ม

2. อัตราการรายงานงานสถิติการให้บริการหลักข้อมูลไปยังหน่วยบริการภายใน

 

 

กระบวนงานที่สำคัญ

(Key Process)

สิ่งที่คาดหวัง

(Process Requirement)

ความเสี่ยงสำคัญ

(Key Risk)

ตัวชี้วัดสำคัญ

(Performance Indicator)

2. ดูแลซ่อมบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์

 

- เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ







 
- เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

1. เครื่องคอมฯ ไม่เพียงพอต่อการ
ใช้งาน
2. เครื่องคอมฯไม่พร้อมใช้งานเสีย ชำรุด
3. อินเตอร์เน็ตใช้ไม่ได้



1. ระบบโปรแกรมระบบงานบริการ
HOSxP และระบบงาน Back Office ไม่สามารถใช้งานได้

 

1. อัตราความครอบคลุมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ พร้อมใช้งาน








 
1. เครื่องแม่ข่ายอัตราได้รับการตรวจสอบอย่างน้อยอาทิตย์ละ 5 วัน

2. เครื่องลูกข่าย อัตราการเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการตรวจเช็คอย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง

 

3. งานฝึกอบรมให้ความรู้

 

- เพื่อให้ความรู้ ทักษะ การใช้งานคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ

 

1. จนท.ไม่มีความรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์
และการใช้งานโปรแกรมระบบงาน HIS

1. จำนวนครั้งที่จัดฝึกอบรมการใช้งาน

 

 

 

3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Performance Indicator)

เป้าหมายหน่วยงาน

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ตัวชี้วัด

ผลลัพธ์

การเปลี่ยนแปลง

ที่เกิดขึ้น

2560

2561

2562

1. สารสนเทศที่ให้บริการ
สมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วน
รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

1.1 จำนวนครั้งที่ระบบไม่สามารถให้บริการได้(ระบบล่ม)

1.2 ดูแลคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้


1.3 ความครอบคลุม
ของการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1.4 ความครบถ้วนการส่งข้อมูล 43 แฟ้ม

0 ครั้ง





100
%






100%

 

 

100%

0





97%






90%

 

 

80%

 

2





98%






90%

 

 

80%

 

1





98%






90%

 

 

80%

 

 

ระบบล่มไม่สามารถใช้งานเกิน 15 นาที 

 

เป็นประกัน 3 ปีแบบ On site Service





เพิ่มระบบตามความต้องการ

2. หน่วยงานสามารถนำ

สารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการ พัฒนางานและพัฒนาคุณภาพการให้บริการ

1.1 ความครอบคลุม
รายงานงานสถิติการให้บริการข้อมูลไปยังหน่วยบริการภายใน

1.2 ร้อยละความพึง
พอใจของผู้รับบริการ

90%







80%

90%







70
%

 

90%







NA

 

90%







NA

 

มีการนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ตอบตัวชี้วัดระดับต่าง ๆ

 

 

 

 

  

4. กระบวนงานหรือระบบเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ

          4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อให้เป็นไปตามสิ่งที่คาดหวังและปัจจัยความเสี่ยงสำคัญของแต่ละกระบวนการ(รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว)

          (สรุปความสำเร็จของการพัฒนาที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมา อย่างสั้น ระบุแนวคิด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และการปรับปรุงที่เกิดขึ้นหรือวิธีการสำคัญที่เป็นข้อสรุปของการพัฒนา: CQI ที่แล้วเสร็จ)

แนวคิด/เป้าหมาย

ผลลัพธ์

วิธีการทำงาน/การปรับปรุงที่เกิดขึ้น

1. เชื่อมโยงข้อมูลระบบ PACS

 

1. หน่วยบริการสามารถดูภาพx-ray จากระบบ PACS ได้

ตามนโยบายของผู้บริหารมุ่งสู่Digital  Hospital

2. ระบบรักษาความปลอดภัยจากผู้บุกรุก Virus,Spayware

1. คอมพิวเตอร์ปลอดภัยจากผู้บุกรุกและ Virus

1. ใช้โปรแกรม antivirus
2. ติดตั้งอุปกรณ์ firewall ปิด port ที่เป็นช่องทาง ให้ผู้บุกรุกเข้ามาในระบบ

3 เชื่อมโยงระบบ GFMIS การเงินเชื่อมโยงระบบ EGP

1. สามารถบันทึกข้อมูลการเงินเข้าส่วนกลางได้อย่างรวดเร็ว
2. สามารถบันทึกข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างได้อย่างรวดเร็ว

1. เพิ่มบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ให้เฉพาะงานพัสดุ 1 วงจร เพื่อรองรับระบบ Intranet ของกระทรวง ,กรมบัญชีกลาง
2.ปรับปรุงระบบให้รองรับระบบ EGP

 

4. ระบบ Video Conference

1.สามารถประชุมข้ามหน่วยงาน ระดับ กรมฯ  กับ รพ.

1. ตามนโยบายผู้บริหารกรมการแพทย์

 

4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

กิจกรรม

ทบทวน

ปัญหา/สาเหตุ

ของปัญหา

แนวทางแก้ไข

หน่วยงาน/

ทีมที่เกี่ยวข้อง

 

เครื่องชี้วัดเดิม/

ผลการพัฒนาเดิม

เครื่องชี้วัด/ผลการ

พัฒนาที่เปลี่ยนแปลง

1. ระบบคิวบริการอัตโนมัติเพื่อพัฒนาระบบบริการสู่ Smart Hospital

1.ผู้ป่วยมีจำนวนมาก

2.ไม่ทราบว่าต้องรอคิวอีกนานแค่ไหน

จ้างพัฒนาระบบโปรแกรม

สนับสนุน

 

คกก.พัฒนาระบบบริการด่านหน้า

งานคอมพิวเตอร์

ทุกหน่วยบริการใช้ระบบคิวบริการอัตโนมัติเดียวกัน

 

1. ให้บริการผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้รวดเร็ว

2. ลดความแออัดในการรอคอย

3. ตรวจสอบการนัดหมายได้ตรงความต้องการ

 

กิจกรรม

ทบทวน

ปัญหา/สาเหตุ

ของปัญหา

แนวทางแก้ไข

หน่วยงาน/

ทีมที่เกี่ยวข้อง

 

เครื่องชี้วัดเดิม/

ผลการพัฒนาเดิม

เครื่องชี้วัด/ผลการ

พัฒนาที่เปลี่ยนแปลง

2.ระบบลงทะเบียน Online

1.ผู้ป่วยมีจำนวนมาก

2.ผู้ป่วยกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน

ไม่ชัดเจน

จ้างพัฒนาระบบโปรแกรม
สนับสนุน

 

คกก.พัฒนาระบบบริการด่านหน้า
งานคอมพิวเตอร์

ลดระยะเวลาในการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม

 

1. ให้บริการผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้รวดเร็ว

2.ระบบตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลเพื่อป้องกันการกรอกข้อมูลไม่ครบ (ระบบ Online)

3.ระบบเลื่อนนัด Online

1.ผู้ป่วยเลื่อนนัดมีจำนวนมาก

2.ผู้ป่วยโทรเข้ามาเลื่อนนัดและไม่มี เจ้าหน้าที่บริการ

จ้างพัฒนาระบบโปรแกรม
สนับสนุน

 

คกก.พัฒนาระบบบริการด่านหน้า
งานคอมพิวเตอร์

ลดระยะเวลาในการรับโทรศัพท์

1. ให้บริการผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้รวดเร็ว
2.เพิ่มช่องทางให้กับผู้ป่วยในการเลื่อนนัด

 

 

 

5. การพัฒนาระบบงาน (ซึ่งมีแผนดำเนินการต่อไปนี้)  ภายในปี  2564

แนวคิด/เป้าหมาย

ผลลัพธ์

วิธีการทำงาน/การปรับปรุงที่เกิดขึ้น

1. จัดหาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการโรงพยาบาล HIS

(Hospital Information System)

1.ให้บริการและรักษาพยาบาล

แก่ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเชื่อมโยงประวัติการรักษา

และข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นเข้าด้วยกันให้มีมาตรฐาน และใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง และตรงเวลา

1. ขออนุมัติโครงการ

2. ประชุมวิเคราะห์ความต้องการ

3. ออกแบบเชื่อมโยงระบบ

4. ทดสอบการใช้งาน

5. ใช้งานจริง

6. ปรับปรุงระบบเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 


 

 

แนวคิด/เป้าหมาย

ผลลัพธ์

วิธีการทำงาน/การปรับปรุงที่เกิดขึ้น

2. จัดหาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการด้านการเงินและบัญชี งานพัสดุ และครุภัณฑ์ (Back Office)

1. ครอบคลุมระบบงานด้านการบริการส่วนหน้า (Front Office) และระบบงานการบริหารส่วนหลัง (Back Office) และมีการเชื่อมโยงกัน

1. ขออนุมัติโครงการ

2. ประชุมวิเคราะห์ความต้องการ

3. ออกแบบเชื่อมโยงระบบ

4. ทดสอบการใช้งาน

5. ใช้งานจริง

6. ปรับปรุงระบบเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง